ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ เรื่องกล้อง และ การถ่ายภาพ (โดยเฉพาะมือใหม่)

ตลอดระเวลาตั้งแต่สอนถ่ายภาพมา 12 ปีจนจะคบ 13 ปีแล้ว
มีประสบการณ์มากพอที่ได้รับรู้ว่าปัญหาของคนที่มาเรียนถ่ายภาพมีอะไรบ้าง

ส่วนใหญ่จะมีความคิดที่ถูกสอนและถูกแนะนำมา บางอย่างก็ถูก บางอย่างก็ผิด

บางคนดูคลิปมากๆ คนสอนหลายๆคน การเรียนรู้และประสบการณ์ต่างกัน เรื่องเดียวกัน แต่สอนไม่เหมือนกัน
มือใหม่ๆยังไม่เข้าใจก็จะสับสนว่า สรุปอันไหนมันถูก อันไหนมันผิด

และหลายๆคนที่เจอคือ ยึดเอาทฤษฎีตามตำรามาแน่นเป๊ะ
เวลาสรุปหลักการให้ง่ายๆจะหยิบข้อมูลมาตีกันเอง. สับสนกับสิ่งที่อ่านมา
ทางทฤษฎีหลายๆเรื่องก็เป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจ  ผมจะเอาทฤษฎีมาทำให้ดูง่ายขึ้น

มือใหม่ๆจะสงสัยว่าทำไมไม่เป็นตามที่อ่านหรือดูมา ต้องบอกว่า ทฤษฎีหนึ่ง มันมีคำตอบและวิธีที่ทำได้ตั้งหลายทาง

ไม่ใช่แค่สิ่งที่คนหนึ่งบอกมา ถ้าเรามีประสบการณ์จริง จะมีตำตอบให้เลือกใช้เยอะแยะในด้านเทคนิคการถ่ายภาพ

ความเชื่อที่ผิด ไม่ว่าจะเข้าใจเอง หรือที่ได้รับคำแนะนำมา ทำให้หลายๆคนเสียเงินไปกับสิ่งที่ไม่ควรจะเสีย
และที่สำคัญคือ เสียเงินแล้วก็ยังถ่ายให้สวยไม่ได้สักที อันนี้เสียทั้ง เงินและเวลา

จึงขอเอาประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังเผื่อใครเข้าข่าย จะได้เป็นข้อคิดและแนวทาง
จะได้ไม่เข้าใจอะไรผิดๆ จะได้พัฒนาตัวเองให้ถ่ายภาพได้สวยๆอย่างที่อยากเป็น

 

1.เริ่มต้นจากเรื่องสำคัญสุดของคนที่จะถ่ายภาพคือ กล้อง นั่นเอง
หลายๆคนเข้าใจผิดคิดว่า ” ต้องมีกล้องโปร เพราะกล้องยิ่งดี ก็จะทำให้ถ่ายภาพได้สวยขึ้น “

 

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า ถ้าจะถ่ายภาพให้สวย ต้องมีกล้องที่ดี ซึ่งกล้องที่ดีก็ต้องมีราคาที่แพง
(อ้าวถ้าตรรกะนี้ งั้นคนที่ไม่มีเงินซื้อกล้องแพงๆ ก็ไม่สามารถถ่ายภาพให้สวยได้ซิครับ)


กล้องดีราคาแพง มันต้องดีแน่ๆครับ (ของดีราคาถูกไม่มีใรโลกครับ มีแต่คำโฆษณา) แต่…. จะจริงรึป่าว

การถ่ายภาพให้สวยมีองค์ประกอบหลายอย่างครับ ไม่ใช่กล้องดีแล้วจะถ่ายภาพสวยได้  
กล้องจะถูก จะแพง ก็ต้องใช้กล้องให้เป็น คือ ต้องเรียนรู้ฟังชั่นกล้องให้เข้าใจว่ามันอยู่ตรงไหน ใช้ยังไง ใช้แล้วผลจะได้ยังไง

ถ้าเราไม่รู้เรื่องพวกนี้ เราก็ไม่อาจใช้ประสิทธิ์ภาพที่กล้องมีให้เกิดประโยชน์ได้ ควบคุมกล้องไม่เป็น จะถ่ายภาพสวยได้ยังไง

 

 

อย่างน้อยต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานในการใช้ฟังชั่นที่สำคัญที่ใช้ในการถ่ายภาพให้ได้

 


ถ้าเราเข้าใจฟังชั่น ใช้กล้องเป็น เรียนรู้การถ่ายภาพหลัการวางองค์ประกอบภาพ ฝึกฝนหาประสบการณ์ แม้กล้องถูกๆก็ถ่ายภาพให้สวยได้ครับ
แต่ถึงเราจะซื้อกล้องตัวท็อปมา ราแพงที่สุดในค่ายนี้ แต่ไม่สนใจเรียนรู้ฟังชั่นอะไรเลย เพราะคิดว่ากล้องดี  ใช้โหมด Auto ก็ได้  ถ่ายยังไงก็สวย

จะบอกให้ครับว่า กล้องดีๆราคาแพงๆจะให้ประสิทธิภาพเรื่องความคมชัด สีสันและไฟล์ภาพที่ดี ก็จริง
แต่ถ้าเราไม่เข้าใจหลักการถ่ายภาพ การจัดวางภาพที่ดี ก็คงจะได้แค่ ชัดดี สีสวย แต่หาความน่าสนใจอะไรจากภาพไม่ได้เลย มันจะดีหรือ

 


สมมุติโหมด Auto ก็จะทำให้ได้ 3 อย่างคือ ความคมชัด สีสันและไฟล์ภาพที่ดี ที่กล้องทำได้ ตามมาตรฐาน
จากการประเมินผลจากสภาพแสงของกล้อง จะผิดจะถูกยังไงมันไม่รู้

เช่น เราอยากได้ฉากหลังเบลอๆ มันอาจได้ไม่เบลออย่างที่คิด ถ่ายภาพ อยากให้ชัดทั้งภาพ แต่อาจกลายขอบภาพไม่คม ซะงั้น
นี่คือ ตัวอย่างของปัญหา การควบคุมกล้องไม่ได้ เวลาถ่ายก็จะไม่ได้ดั่งใจต้องการ 

 

 

ในโหมด AUTO ระบบที่ตั้งไว้ให้คร่าวๆแบบนี้ เช่น

ถ้าโฟกัสใกล้ๆจะกลายเป็นชัดตื้น (แต่ไม่สามารถปรับตั้งตามที่ต้องการได้)
คือพยายามทำให้ฉากหลังเบลอๆ พอเราโฟกัสไปที่ไกลๆก็จะเป็นชัดลึก คือให้ฉากหลังชัดๆ (แต่ไม่สามารถปรับตั้งตามที่ต้องการได้)

เวลาแสงมาก ก็จะปรับรูรับแสงให้แคบลง (ตัวเลขเยอะ) เป็นชัดลึก (แต่ไม่สามารถปรับตั้งตามที่ต้องการได้)
พอแสงน้อย ก็เปิดรูรับแสงให้กว้างมากขึ้น (ตัวเลขน้อย) เป็นชัดตื้น (แต่ไม่สามารถปรับตั้งตามที่ต้องการได้)

ซึ่งหลายๆครั้ง เราต้องการสวนทางกับระบบที่คำนวณได้ จากสภาพแสงและระยะโฟกัสที่ถ่าย

ก็จะเกิดข้อผิดพลาด ไม่ตรงใจเรา ซึ่งเราควบคุมไม่ได้นั่นเอง

หรือเวลาสภาพแสงน้อยๆ ระบบ Auto ก็จะทำให้รูรับแสงกว้าง(ตัวเลขน้อย) และเพิ่มISOให้สูงๆเพื่อให้ถ่ายภาพได้ไม่เบลอ
ฟังเหมือนดีเนอะ
แต่ไม่ดีเพราะ iso สูงมากเกินความจำเป็น ทำให้ภาพมี noise มากจนภาพนำไปใช้อะไรไม่ได้
(ถ้าใช้ ISO Auto กล้องจะปรับค่าISO ให้สูงกว่าปกติ ทำให้มีโอกาสเกิด noise สูงกว่าการปรับตั้งค่าเอง)


มีไม่น้อยเลย ที่คนมาเรียนถ่ายภาพคุยให้ฟังว่า
เพื่อนบอกต้องซื้อกล้องตัวท็อปเลยรับรองถ่ายสวยๆแน่นอน (พอซื้อมาตามเพื่อน ถ่ายยังไงก็ไม่สวยสักทีจึงต้องตัดสินใจมาเรียน)

บางคนบอกว่า ต้องซื้อ Leica นะ ถ่ายยังไงก็สวย ไม่ถ่ายแค่แขวนคอก็เท่ห์แล้วครับ
(55555 กล้องนะครับไม่ใช้พระเครื่อง ไม่ได้มีไว้แควนคอ)

Leica ของเค้าดีจริงครับ แต่คนใช้ไม่เป็น มันก็ไม่ได้ความสวยที่ควรจะเป็น

 

 

นี่คือตัวอย่างเล็กๆที่จะบอกว่าถ้าเราใช้กล้องเป็นใช้ฟังชั่นได้ ไม่ต้องพึ่งบริการโหมดAuto
ถ้าเราไม่สามารถควบคุมมันได้ตามที่เราต้องการได้
แล้วลงทุนซื้อกล้องราคาแสนแพงมาเพื่อ……ใช้แต่ Auto รึ ?

ในทางกลับกัน
ถ้าเราเข้าใจกล้อง ใช้ฟังชั่นเป็น รู้หลักการถ่ายภาพ ใช้กล้องอาจไม่ได้ดีนักก็สามารถถ่ายภาพให้สวยได้ไม่อายใคร

ถ้าถ้าเรามีกล้องดี ราคาแพง บวก เราเรียนรู้การใช้ เรียนรู้หลักการถ่ายภาพ ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ได้สิ่งดีที่สุดครับ

กล้องดี แต่ไม่รู้เรื่องฟังชั่นอะไรเลย ไม่ใช่ตำตอบ ของการทำให้ภาพสวยนะครับ

😂 มีกล้องราคาแพงแต่ไม่รักจริง
😤 กดชัตเตอร์ถ่ายทิ้งถ่ายขว้าง
😎 หรือจะสู้คนถ่ายรูปจากล้องริมทาง
😍 ที่ทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ”

 

 

2. เข้าใจผิดคิดว่า ” ถ้าจะเก่งต้องใช้ Mode Manual เท่านั้น  “
มีหลายๆคนมาเรียนถ่ายภาพ เห็นตั้งกล้องไว้ที่ Mode M กันเยอะ  พอถามว่าทำไมใช้โหมด Manual คำตอบที่ได้มีอยู่สองคำตอบคือ

1. มีคนบอกว่าถ้าอยากเก่ง หัดถ่ายภาพต้องใช้โหมด M ถึงจะเก่ง
2. เห็นช่างภาพอาชีพใช้โหมด M ถ่ายได้สวย อยากถ่ายสวยๆบ้างเลยใช้โหมด M

 

 

ความจริงก็ถูกนะเพราะการฝึกใช้การตั้งค่าเองทั้งหมดได้จะดีเพราะจะได้เข้าใจฟังชั่นต่างๆได้ดีขึ้น
แต่นอกจากคำตอบที่ได้นั้น คนใช้กลับไม่รู้หลักของการใช้โหมดM ที่ถูกต้อง ปรับไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ ใช้เวลาไปนานเท่าไรไม่รู้
บางคนถ่ายแฟนๆรอจนเบื่อกว่าจะได้แต่ละรูป ก็เลยไม่อยากให้แฟนถ่ายภาพให้ เพราะช้ากว่าจะได้สักภาพ ยิ้นจนแห้ง แถมบางทีภาพมืดภาพสว่างเวอร์อีกด้วย
การใช้โหมด M จะต้องปรับค่าแสงให้พอดี ภาพจึงจะได้ไม่สว่าง หรือ มืดไป

แต่มือใหม่ๆบางทียังไม่ชิน ลืมปรับ โดนเร่งมากๆ รีบกดเพลิน ภาพออกมาเดี๋ยวมืดไป สว่างไป ซึ่งก็จะพลาดได้ง่าย
ต้องมีหลักยึดว่าจะเริ่มต้นที่ไหน ปรับยังไงให้เร็ว

ถ้าเราได้เรียนรู้ เราจะเข้าใจว่า การใช้โหมดการถ่ายภาพจะต้องมีหลักในการเลือกใช้  ไม่ใช่ปรับไปเรื่อยๆ
และบางครั้งต้องการรีบด่วน ต้องรวดไร็ว รอไม่ได้…..โหมด M ก็อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด 

ต้องเรียนรู้การใช้โหมดอื่นๆที่มี เช่น โหมด  A หรือ AV   โหมด S หรือ TV มันต่างกับโหมด M อย่างไร
แต่ละ Mode เหมาะสมกับการถ่ายภาพแบบไหน ถ้ามันไม่ต่างกัน คนคิดค้นฟังชั่นกล้อง คงไม่ทำมาให้เปลืองพื้นที่ เปลืองอะหลั่ย 

 

 

คำแนะนำเรื่องนี้คือ 

ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นโหมดMเท่านั้น ให้เรียนรู้และเลือกใช้โหมดการถ่ายภาพให้เหมาะสม 
แต่ก็อยู่ที่การฝึกฝนด้วยนะครับ ถ้าใครฝึกใช้โหมดM จนคล่อง และสามารถใช้จนทำได้เร็ว ก็ใช้ไปไม่ผิดครับ
แต่ถ้าใครที่ใช้โหมด M แล้วมีปัญหาล่าช้าไม่ทันใจ และลืมปรับสภาพแสงทำให้มืดบ้าง สว่างบ้าง
ลองฝึกใช้โหมด A/AV หรือแม้จะเป็นโหมด S/TV ดูครับ ถ่ายได้ภาพสวยได้ไม่ต่างกับโหมด M เหมือนกันครับ

 

3. เข้าใจผิดคิดว่า ” ถ่ายยังไงก็ได้ เดี๋ยวก็เอาไปแต่งให้สวยได้ “
คนส่วนใหญ่คิดว่า ถ่ายๆ ไปเถอะเดี๋ยวเอาไปแต่งในโปรแกรมยังไงก็สวย ความเชื่อที่ผิดและผิดมากๆ

เพราะถึงแม้ว่าในปัจจุบันโปรแกรมจะมีความสามารถในการจัดการภาพได้ดีมากๆ
แต่ถ้าวัตถุดิบหรือต้นฉบับที่เราถ่ายออกมาไม่ดี ก็ไม่สามารถทำให้ภาพนั้นมีคุณภาพได้มากกว่าวัตถุดิบที่ดีแน่นอน

 

 

และเราต้องใช้เวลาในการเอาไปแต่ภาพแก้ไขภาพแค่ไหน ถ้าเรามีเวลาเยอะๆก็อาจจะทำได้ และต้องแต่งเก่งด้วยถึงจะใช้ข้อนี้ได้
แต่ถามว่าคนแต่งภาพเก่งๆมีกี่เปอร์เซ็นต์  ถ้าจะบอกกว้างๆก็คงจะพูดได้ว่า คนถ่ายภาพทั่วไป 80 % แต่งภาพไม่เป็น
(หมายถึงโปรแกรมแต่งภาพจริงๆนะ
กลุ่มใช้มือถือแล้วใช้แอฟแต่งภาพ อันนี้เป็นข้อ ยกเว้น นะครับ )

ดังนั้น ถ้าถ่ายมาแบบมั่วๆ และแต่งไม่เป็นด้วย คงสนุกแน่ การจะได้ภาพสวยคงยาก
แต่ถ้าเป็นประเภท สวยของฉัน คนอื่นมองยังไงไม่สนใจ นี่อีกเรื่องนะครับ


ปัจจุบันนี้ คนชอบถ่ายภาพมาแล้วโพสท์ลงโซเชียล ทันที ยิ่งเร็วยิ่งเรียกยอดไลค์ได้มาก
แล้วถ่ายมามั่วๆไม่สวย ไม่มีเวลามานั่งแต่งภาพ ลงไปก็คงได้ยอดไลค์เฉพาะเพื่อนๆที่กดให้ด้วยความสงสาร หรือให้กำลังใจเท่านั้น

แต่ถ้าเราตั้งใจเรียนรู้หลักการใช้กล้อง หลักการวางองค์ประกอบภาพให้เข้าใจ

ถ่ายภาพภาพออกมาให้สวยจากกล้อง ต้นฉบับดี แต่งนิดหน่อยก็สวย โพสท์ได้เลย ดีกว่ามั้ย 
(ถ่ายให้คม องค์ประกอบภาพดี สีสันถูกต้อง ไม่ต้องครอบ ไม่ต้องซ้อนภาพ ) 


ไม่มีการคิด ไม่มีการวางแผน ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้เทคนิคการภ่ายภาพใดๆ

ซึ่งการถ่ายภาพแบบถ่ายๆไปเรื่อยๆและคิดว่าจะเอาไปแต่ง ทำให้เราเป็นคนถ่ายภาพแบบมักง่าย

นั่นไม่ใช่สิ่งที่ดี ในการเป็นนักถ่ายภาพที่จะเก่งในอนาคตครับ

 

.


4. คนมักชอบบอกว่า ” ถ่ายบ่อยๆ ถ่ายเยอะๆ เดี๋ยวก็สวยเองแหละ  “

สำหรับข้อนี้ มือใหม่ๆมักจะได้รับคำแนะนำว่า อยากเก่งต้องถ่ายรูปเยอะๆ กดๆไปเหอะ เดี๋ยวก็เก่งเองแหละ
สำหรับเรื่องนี้ต้องบอกว่า การถ่ายภาพบ่อยๆ ถ่ายภาพเยอะๆเป็นสิ่งที่ดีครับ
เพราะจะทำให้เราเข้าใจฟังชั่น การควบคุมกล้องได้มากขึ้น (ยกเว้นใช้โหมดAutoที่ไม่ได้ปรับอะไรเลย)

แนะนำว่าการถ่ายมากๆ ถ่ายเยอะๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยนะครับ
หมายความว่า ไม่ใช่ยกกล้องแล้วกดชัตเตอร์อย่างเดียว ไม่เคยคิดอะไรเลย ไม่คิดแก้ไข ไม่คิดวางแผนอะไรเลย
ถ่ายเยอะแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ครับ

 

 

เวลาถ่ายภาพโดยเฉพาะมือใหม่ทั้งหลาย

ถ้าอยากเก่งต้องฝึกคิดก่อนถ่าย แล้วใช้ฟังชั่น ใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่เรียนรู้มา
ลองฝึกทำ ฝึกแก้ปัญหา ทำให้ได้อย่างที่คิดครับ จึงจะได้ประโยชน์และได้มีการพัฒนาทำให้เก่งขึ้น

ถ้าเราทำแบบนี้ทุกๆครั้งที่ถ่ายภาพเราจะได้เรียนรู้การถ่ายภาพว่ากล้องมีฟังชั่นที่ตอบสนองการใช้งานได้แค่ไหน
ได้เรียนรู้ว่าเลนส์ที่เราใช้มันเพียงพอในการถ่ายภาพมั้ย
เมื่อเราทำทุกครั้งแบบนี้ ไม่ต้องถ่ายมากๆก็อาจพัฒนาได้เร็วกว่า การถ่ายมากๆกดอย่างเดียว แต่ไม่เคยคิดครับ

 

 

 

5. ความเชื่อที่ว่า ” โลเคชั่นสวย ถ่ายยังไงก็สวย “


เรื่องนี้มักได้ยินกันบ่อยๆ คนชอบพูดว่า ไปหาที่สวยๆ วิวสวย สถานที่สวย ถ่ายยังไงก็สวย
มีส่วนจริงอยู่ครับ แต่สำหรับคนถ่ายภาพเป็นเท่านั้นครับถึงจะใช้ประโยคนี้ได้

เพราะเค้ารู้ว่าจะถ่ายยังไง แม้สถานที่สวยอยู่แล้วคนกลุ่มนี้ก็จะพยายามหามุมใหม่ๆเพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆอีกด้วย

 

 

 

แต่สำหรับคนที่ถ่ายภาพไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะถ่ายยังไง องค์ประกอบภาพควรมีอะไรบ้าง ไม่รู้เลย
ถึงสถานที่สวยแค่ไหนก็คงจะยาก ที่จะถ่ายให้สวยได้เหมือนภาพที่เราเห็นมืออาชีพหรือคนถ่ายภาพเป็นเค้าถ่ายกัน
ถ้าสถานที่สวยแล้วทุกคนถ่ายได้สวยหมดทุกคน ก็คงจะดีนะ แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นครับ

 

6. ความเข้าใจผิดเรื่อง ” ทำไมต้องมาเรียนถ่ายภาพ ฝึกเองก็เก่งได้ “

สิ่งที่พูดข้างต้น มีส่วนถูกนะครับ แต่ใช้ได้กับบางคนเท่านั้นไม่ใช่กับทุกคน

ความคิดของคนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่า ไม่จำเป็นต้องมาเรียนถ่ายภาพนะ หัดๆเองก็ได้เดี๋ยวก็เป็น
บางคนก็คิดว่า เดี๋ยวนี้ดู Youtube เอาก็ได้มีเยอะแยะมากมาย ไปเสียเงินเรียนทำไม ?

 

 

สังเกตุจากตัวเราเลยครับ
เรานั่งดูคลิปสอนถ่ายภาพ หลายๆคนดูแล้วก็เอาไปฝึกใช้ก็ได้ประโยชน์ และต่อยอดได้
คนกลุ่มนี้อาจจะเป็นคนที่พมีพรสวรรค์ด้านศิลปะ หรือ เป็นเด็กที่เรียนรู้ได้เร็ว แค่มีไกด์ให้ก็ต่อยอดและทำได้

แต่จะมีจำนวนที่ไม่มากนักที่ดู Youtube แล้วสามารถใช้กล้องได้ ถ่ายภาพได้
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ บางคนอาจจะรู้จัก การตลาดแบบ Direct Maketing หรือ ธุรกิจขายตรงบ้างนะครับ
เค้าจะมีเทคนิค วิธีการที่ดีมากๆเรื่อง การโปรโมทคนที่ประสบความสำเร็จ ทำให้คนมาร่วมธุรกิจมากๆ
เป้าหมายคือ ให้คนเข้าใจว่า ถ้าคุณมาทำธุรกิจนี้แล้ว คุณจะประสบความสำเร็จเป็นสุดยอดนักขาย
มีทั้งรายได้ การยอมรับ การมีชื่อเสียง สารพัด นั่นคือการสร้างความเชื่อ สร้างความคิดที่จะประสบความสำเร็จ
แต่…..ลองๆนึกดูครับ สมาชิกมีเป็นแสนเป็นล้าน มีคนที่ประสบความสำเร็จสักกี่คน บอกเลยว่าน้อยมากๆ ทั้งๆที่มีการโค้ช มีแผนการตลาดให้ทุกอย่าง

ดังนั้น ต้องดูตัวเองครับว่า เรามีการเรียนรู้ได้แค่ไหน อย่าไปเชื่อคนที่พูด “ว่าไม่จำเป็นต้องเรียน หัดเองก็ได้ “
ลองดูผลงานเค้าดูซิว่า เค้าถ่ายได้สวยรึยัง ถ้ายังไม่ได้เรื่องก็อย่าไปเชื่อเลยครับ

และก็จะมีอีกจำนวนมากมายที่ดูแล้วก็ไม่เข้าใจ ยิ่งดูก็ยิ่ง งง !!

มีหลายๆคนที่ดูวีดีโอสอนออนไลน์ ไม่เคยดูจบ เพราะอะไร เพราะดูแล้วง่วง ดูแล้วทำไม่ได้อย่างที่สอน
สุดท้ายก็หันไปใช้บริการโหมด Auto อีกตามเคยเพราะยังไงๆก็ได้ภาพ ดีหรือไม่ดี ก็อีกเรื่องนึง จริงมั้ย

 

 

 

นี่คือเหตุผลว่าทำไมต้องมาเรียนถ่ายภาพ
เพราะการเรียนถ่ายภาพทำให้เราเรียนรู้ได้เร็วขึ้น การเรียนถ่ายภาพเป็นการย่นระยะเวลาของการเรียนรู้
เหมือมีคนมาย่อส่วนที่สำคัญๆมาให้เราเข้าใจ โดยไม่ต้องอ่านตำราทั้งเล่ม
นำประสบการณ์ที่คนสอนนำทริคต่างๆที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว มาแนะนำเรา โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก

ยิ่งคนสอนมีประสบการณ์มากก็ยิ่งได้ประโยชน์และเทคนิคมากไปด้วย
(อันนี้ต้องพิจารณาให้ดีๆนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้บางคนประสบการณ์น้อยนิด ก็มาเป็ดสอนถ่ายภาพกันแล้ว
บางคนเอาผลงานคนอื่นมา ขโมยแม้กระทั่งคำพูดโฆษณาคนอื่นไปใช้ก็มี)

 

 

 

ข้อแนะนำสำหรับคนที่ จะตัดสินใจเรียนถ่ายภาพ

ถ้าไม่แน่ใจว่าจะเรียนกับใครดี ? ( มีเยอะ ตัดสินใจไม่ถูก) ให้พิจารณาตามนี้

1. ดูจากผลงานคนสอนว่า ผู้สอนมีผลงานที่เรายอมรับได้มั้ย
(ไม่ใช่เอาถูกๆไว้ก่อน แต่แพงมากไปก็ต้องดูด้วยนะว่าดีจริงหรือแค่ตั้งราคาสูงๆ)

 

 

 

ถ้าผลงานเป็นที่ยอมรับได้ ก็เชื่อได้ระดับนึงว่า น่าจะสอนให้เราถ่ายภาพ ให้สวยได้
บางคนเปิดสอนถ่ายภาพ แต่หาดูผลงานการถ่ายภาพมีไม่กี่รู้ป หรือ หาดีไม่ได้เลยไม่อยากโชว์
ถ้าไม่มีผลงานให้ดู หรือ ผลงานไม่เป็นที่พอใจ หรือ เพิ่งเริ่มสอน ให้คิดเยอะๆ
อย่าตัดสินใจ…เพราะราคาถูกอย่างเดียว

 

2. ดูประสบการณ์ในการสอนด้วยว่าเป็นอย่างไร

ถ้าสอนดี มีประสบการณ์ยิ่งมาก นั่นก็เชื่อได้ว่า ถ้าไม่ดีจริงคงอยู่ไม่ได้นานแน่
ดูด้วยว่าคนสอนเก่งด้านไหน ตรงกับสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ เพราะคนทุกคนไม่ได้เก่งทุกเรื่อง เลือกจุดเด่นที่ตรงกับที่เราชอบ

 


(ยกเว้น บางคนเพิ่งเปิดสอนแล้วบอกว่าสอนมาแล้ว 5 ปี 10 ปีก็มีนะครับ (อันนนี้เช็คตรวจสอบได้ครับว่า สอนมานานจริงรึป่าว)

บางคนใช้วลีและคำบรรยายสวยหรู เขียนไว้เยอะแยะ แต่พอสอนจริงสอนไม่ได้อย่างที่เขียนไว้ก็มีเยอะนะ

 

 

3. ระยะเวลาในการสอน
การเรียนถ่ายภาพ ไม่ใช่เรียนแค่แค่ทฤษฎี ต้องมีการฝึกถ่ายภาพอย่างจริงจัง ถึงจะทำได้
ต้องเรียนทั้งการใช้ฟังชั่นกล้อง หลักการวางองค์ประกอบภาพ การวัดแสง และอื่นๆอีกมากมาย
เวลาเรียนรู้ อย่างต่ำควรจะต้อง มี อย่างน้อย 2 วันขึ้นไป
ประเภทบอกว่าเราจะสอนให้ถ่ายได้อย่างมืออาชีพแค่วันเดียว
มันเป็นไปไม่ได้
คนถ่ายภาพภาพสวยต้องใช้เวลาในการเรียนรู้หาประสบการณ์เพียงพอ ไม่ใช่แค่วันเดียว บางคนใช้เวลาเป็นปี

 

โดยสรุปคือ เมื่อเราชอบ เราอยากถ่ายภาพ เราก็ต้องซื้อกล้อง
เมื่อซื้อกล้องมาก็ต้องเรียนรู้การใช้กล้อง จะเรียนรู้ด้วยการดูคลิปหรือเพื่อนสอนก็ได้
แต่สุดท้ายเมื่อยังไม่เข้าใจ ยังถ่ายได้ไม่ดี ตัดสินใจเรียนถ่ายภาพเถอะครับ

 

เรียนถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน กับ วิสต้าอิมเมจ สอนอะไร และ ได้อะไรบ้าง