พื้นฐานการจัดวางองค์ประกอบภาพ ( Basic of Composition )

ก่อนต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า ภาพที่สวยนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 
1. จุดเด่นหรือจุดสนใจดี (Highlights or points of interest)
จำไว้เลยนะครับว่าก่อนถ่ายภาพ มองหาก่อนเลยว่าภาพนี้จะเอาอะไรเป็นจุดเด่นของภาพ อย่าถ่ายมาโล่งๆ (เจอบ่อยมากๆ)
และอีกกลุ่มนึ่งก็คือ เอาทุกอย่างเข้ามาหมดเลย เยอะจนไม่รู้อันไหนเป็นจุดเด่น อันนี้ก็ไม่ดีครับ
คำว่าจุดเด่นคือมันต้องเด่นจริงๆเล็กไปก็ไม่ดี ใหญ่ไปก็ไม่ดี เอาที่พอดีๆครับ

     

 2. การจัดวางองค์ประกอบภาพดี (Composition)
เมื่อได้จุดเด่นแล้วก็ต้อง จัดวางให้ลงตัว ถึงจะทำให้ภาพสวย ดูน่าสนใจ
นี่คือคือสิ่งที่หลายๆคนไม่รู้ แต่หลายคนก็รู้นะอ่านมาเยอะ แต่เวลาถ่ายก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญ
แล้วก็คิดเองว่า ถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ ไม่ต้องมีกฏเกณฑ์อะไร ถ่ายไงก็ได้
อันนี้ขอให้คิดใหม่ครับ อะไรก็ได้ไม่ใช่ศิลปะนะครับ ทุกอย่ามีกฏเกณฑ์
ถ้าไม่มีกฏเกณฑ์ เราก็ไม่มีกรอบในการคิดในการพัฒนาต่อยอด

ไม่ว่าวงการไหน งานอะไร ทุกอย่างมีกฏกติกาเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานทั้งนั้น
อย่าเข้าข้างตัวเอง ศึกษาหลักการให้เข้าใจก่อนจะนอกกรอบครับ

   

 3. มีแสงและทิศทางของแสงดี (Light and light direction )
ภาพที่สวยงาม สิ่งสำคัญมากๆคือเรื่องของแสงครับ แสงมีบทบาทที่สำคัญในนการถ่ายภาพทุกประเภท
ดังนั้นถ้าใครอยากถ่ายภาพให้สวยๆเก่งๆต้องเรียนรู้เรื่องของแสงและทิศทางของแสงให้เข้าใจ

       

นี่คือสิ่งที่เราต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่าภาพที่สวยประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
แล้วค่อยมาเรียนรู้หลักการจัดวางองค์ประกอยภาพกันครับ

หลักการจัดวางองค์ประกอบภาพเบื้องต้น

Rule of Thirds Theory

Rule of thirds เป็นพื้นฐาน ในการจัดวางองค์ประกอบภาพ สำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ 

จุดตัด 9  ช่อง  เอาง่ายๆครับ เพราะมีเขียนกันไว้เยอะแยะ ไปหาอ่านกันเอง
คือเมื่อได้จุดเด่นแล้วให้วงตำแหน่งจุดเด่นไว้ที่จุดตัด9ช่อง หรือที่ตำแหน่งสีแดง
จุดใดจุดหนึ่ง ตำแหน่งใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตรงจุดเป๊ะๆ

ให้อยู่ในบริเวณใก้เคียงจุดสีแดงก็ได้ที่เหมาะสม ที่จะทำให้ภาพมีการสื่อความหมายที่ดีและลงตัวที่สุด

ประโยชน์ของจุดตัด9ช่อง 

1.ช่วยในการจัดวางจุดสนใจจุดตัด 9 ช่องได้ง่าย
เป็นทางออกสำหรับมือใหม่ได้ เพราะ
จุดตัด 9 ช่องจะช่วยให้มือใหม่รู้ว่าควรจะวางตำแหน่งจุดเด่นไว้ตรงไหน
แบ่งสัดส่วนแบบไหนที่จะสื่อสารภาพได้ตามที่ต้องการ

2.ช่วยจัดวางภาพแบบสมดุลหรือสมมาตร
การวางองค์ประกอบภาพแบบสมดุล เส้นจุดตัด จะเป็นส่วนที่ทำให้จัดองค์ประกอบภาพได้สมดุล รวมถึงเส้นตรงต่างๆได้ไม่เอียง

3.ช่วยจัดช่องว่างให้ภาพ ในการแบ่งสัดส่วนของภาพ
เส้นตารางนี้จะทำให้เราแบ่งสัดส่วนได้อย่างถูกต้อง บางครั้งกะด้วยตาอาจจะไม่ตรงหรือวางไม่ถูกต้อง

4.ช่วยในการจัดวางภาพแบบ Perspective
ในการถ่ายภาพที่มีเส้นตรง เส้นขอบฟ้า งานอินทีเรียน งานโครงสร้าต่างๆ
เส้นตารางนี้จะช่วยให้กำนดเส้นและโครงสร้างต่างๆให้ตรงตามหลักการถ่ายภาพได้ดี

กฏสามส่วน


หลักการแบ่ง สัดส่วนในการจัดวางองค์ประกอบภาพ
การจัดวางองค์ประกอบภาพทีดี ควรแบ่งสัสส่วนของภาพให้ถูกต้องและเหมาะสม

สำหรับภาพที่มีเส้นแบ่ง เช่นทะเล ท้องฟ้า แผ่นดิน ควรแบางภาพไว้เป็น 3 ส่วน
เอาข้างบน ไว้ 2 ส่วน ข้างล่าง 1 ส่วนก็ได้ หรือ จะเอาข้างบน 1 ส่วน ข้างล่าง 2 ส่วนก็ได้
แล้วต่ความเหมาะสมหรือจินตนาการของผู้ถ่าย

การเปิดพื้นที่ในการจัดวางองค์ประกอบภาพ (Positive Space)

คือ การเปิดพื้นที่ว่างบริเวณรอบข้างด้านหน้าเพื่อให้สื่อสารมีเรื่องราวและน่าสนใจมากขึ้น
ก็คือเปิดพื้นที่ด้านหน้าให้มากกว่าด้านหลังนั่นเอง
หรือพูดง่ายๆว่า วัตุหรือสิ่งที่เราถ่าย มีทิศทางว่าหันหน้าไปทางไหน ให้เป็นพื้นที่ด้านนั้นให้มากกว่าอีกด้าน
หรือถ้าแบ่งเป็นสัดส่วนก็คือ
ด้านหน้า มีพื้นที่  2  ส่วน ด้านหลังแค่ 1 ส่วน

   

การวางองค์ประกอบภาพแบบใช้เส้นนำสายตา (Leading Line)
เป็นการจัดวางองค์ประกอบภาพอีกรูปแบบนึงที่เป็นการชี้นำไปสู่เป้าหมายหรือจุดเด่นที่เราต้องการนำเสนอ
ตามชื่อเลยครับ เป็นเส้นที่บีบสายตา หรือ นำสายตาของคนดูไปสู่จุดเด่นของภาพ
ดังนั้น ถ้าใช้เส้นนำสายตาจะต้องมีจุดเด่นรองรองรับเสมอ

การจัดวางองค์ประกอบภาพแบบใส่กรอบให้ภาพ (Picture within Frame )
การจัดองค์ปรพกอบภาพแบบนี้จะเป็นการสร้างให้จุดเด่นนั้นเด่นขึ้น ทำให้คนดูเห็นความเด่นชัดของสิ่งที่เรานำเสนอ
กรอบเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติและสร้างขึ้นมา อยู่ที่สถานที่นั้นๆ

   

การจัดวางองค์ประกอบภาพแบบสมดุล หรือ สมมาตร (Balanced or symmetrical composition)
เป็นการจัดวางองค์ประกอบภาพที่วางไว้กลางภาพได้ ดูแล้วลงตัวกว่า 
เพราะภาพบางอย่างเหมาะสมที่จะวางไว้กลางภาพมากกว่าการวางไว้ที่จุดตัด9ช่อง แบ่งออกเป็น 

สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance)

เป็นการจัดวางส่วนประกอบภาพที่มีลักษณะสองด้านหรือสี่ด้านเหมือนกัน ทั้งด้านซ้ายและขวาภาพ

ภาพนั้นมีน้ำหนักที่เท่ากัน เมื่อแบ่งกึ่งกลางภาพจะมีนำหนักเท่าๆกัน

เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม งานโครงสร้างต่างๆ รวมทั้งคนหรือสิ่งของ ในบางกรณี

   

 

สมดุลแบบไม่สมมาตร (Asymmetrical Balance)
องค์ประกอบภาพแบบนี้ สองข้างไม่ต้องเหมือนกัน อาจเป็นสิ่งที่ต่างกันได้
แต่ดูภาพรวมแล้ว นำหนักสองข้างสมดุลกัน หรือที่เรียกว่า “สมดุลโดยความรู้สึก” นั่นเอง

   

นั่นเป็นส่วนพื้นฐานของหลักการจัดวางองค์ประกอบภาพที่มือใหม่ควรรู้นะครับ

การวางจุดเด่นไว้ที่จุดตัด 9 ช่อง ถือเป็นการเพื่อสร้างเรื่องราวให้ภาพ
การวางวไว้กลางภาพ ไม่ได้ผิด
แต่ก็ไม่เหมาะกับภาพทุกแนว
เลือกดูให้เหมาะสมตามที่เขียนไว้ น่าจะทำให้ภาพมีความน่าสนใจมากขึ้น
ภาพบางภาพ วางกลางภาพเป๊ะๆ แต่ดูลงตัวดีก็มีนะ แต่ต้องดูดีๆถึงจะสวย
ตัวอย่างเช่นย ถ่ายภาพคน หรือ นางแบบ วางไว้กลางภาพเป๊ะ ๆดูเหมือนกับภาพติดบัตร
ลองเปลี่ยนมาจัดวางที่ไม่ใช่กลางภาพดู จะมีความสวยและน่าสนใจกว่ามั้ย
นี่คือพื้นฐานที่สำคัญของการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน
ความจริงยังมีหลักการจัดวสงองค์ประกอบภาพอีกหลายอย่าง
แต่อยากให้มือใหม่ที่ยังจัดวางองค์ประกอบภาพไม่เป็น ยึดพื้นฐานสำคัญง่ายๆแค่นี้ให้ได้ก่อนครับ
เมื่อทำได้ดีแล้วค่อยก้าวไปอีกขึ้นนึง
อยากให้ทุกคนที่อ่าน จะได้มีความรู้พื้นฐานไว้เพื่อต่อยยอดและการพัฒนาการถ่ายภาพให้ดีต่อไปนะครับ