เทคนิคการถ่ายภาพ
Long Exposure Photography

 

คนที่ชื่นชอบการถ่ายภาพทุกๆคนย่อมมีความชอบในแนวที่ต่างกัน
บางคนชอบการถ่ายภาพคน บางคนชอบถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ประสบการณ์ก็จะมีมากน้อยต่างกัน
แนวการถ่ายภาพมีมากมายให้เรียนรู้ อยู่ที่เราว่าจะชอบแนวไหน

 เทคนิคที่ใช้ถ่ายภาพมีหลากแล้วแล้วแต่จะเอาไปประยุกต์สร้างสรรค์
แต่ที่นิยมถ่ายกันมากๆ หลักๆจะเป็นการถ่าย Landscape Seascape Night scape และอีกหลากหลาย 
คราวนี้จะนำเรื่องแนวการถ่ายภาพอีกประเภทหนึ่งมาให้ได้เรียนรู้กัน 

Long Exposure Photography


คือ เทคนิคในการถ่ายภาพอีกแนวหนึ่ง เป็นการเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้นานๆในการบันทึกภาพ

Long Exposure หรือ Long Shutter Speed Exposure เป็นการเปิดชัตเตอร์สปีดทิ้งไว้นานๆ
ทำให้ได้ภาพที่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น 

ผลของภาพที่ได้ออกมา จะให้ความสวยงามในอีกมุมมองหนึ่ง มีหลายประเภท ยกตัวอย่าง เช่น

 

– การถ่ายภาพไฟวิ่งให้เป็นเส้นแสงในตอนกลางคืน
จะเรียกว่า Night light หรือ City scape แล้วแต่จะเรียกกัน

 

– การถ่ายภาพวาดแสงไฟ (Light Painting )

 

 

การถ่ายภาพพลุ (Fire work Photography)

 

การถ่ายภาพเส้นแสงดาว หรือ เรียกกันว่า ถ่ายดาวหมุน (Star Trails)

 

การถ่ายภาพน้ำให้ดูนุ่มนวล ฟุ้งๆ

 

 

การถ่ายภาพน้ำตก ให้ดูฟุ้งชวนฝัน 

 

 

– รวมไปถึงการถ่ายภาพสุดฮิตในยุคนี้ คือ 

การถ่ายภาพทางช้างเผือก( Milky way Photography )

หรือ ที่คนถ่ายภาพมักพูดกันติดปากคือ การล่าช้าง นั่นเอง

 

ปัจจัยที่สำคัญและอุปกรณ์ของการถ่ายภาพ Long Exposure Photography

1. ขาตั้งกล้อง คือ สิ่งที่จำเป็น
การเปิดชัตแตอร์นานๆหากมีการเคลื่อนไหวแม้เพียงนิดเดียวภาพที่ได้ก็จะเบลอ
ตัวช่วยสำคัญคือ ขาตั้งกล้อง เราต้องตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง เพื่อไม่ให้มีการสั่นไหว
ใครที่ชื่นชอบการถ่ายภาพแนวนี้ จึงจำเป็นต้องมีขาตั้งกล้องเสมอ

2.รีโมตชัตเตอร์ / สายลั่นชัตเตอร์
สำหรับการถ่าย Long Exposure ควรใช้สายลั่นชัตเตอร์
ที่สามารถล็อคการเปิดรับแสงไว้ตามที่เราต้องการได้ เพราะการใช้สายลั่นชัตเตอร์ หรือ รีโมท
ทำให้เราไม่ต้องไปกดชัตเตอร์เองที่ตัวกล้อง ไม่ต้องเสี่ยงกับกล้องไหว
หรือ ถ้าไม่มีสายลั่นชัตเตอร์ ใช้โหมดตั้งเวลา 2 วินาที ถ่ายภาพก็ได้

3. เลือกใช้โหมดการถ่ายภาพให้ถูกต้อง
การถ่ายภาพ Long Exposure ตั้งค่ากล้องไปที่โหมด Shutter B หรือ Bulb
เพื่อเปิดความเร็วชัตเตอร์ให้นานกว่า 30 วินาที หรือ นานท่าที่เราต้องการ
ยกเว้น บางกรณีที่เปิดชัตเตอร์ไม่เกิน 30 วินาที อาจใช้โหมด M หรือ AV ก็ได้

4. ND Filter ฟิลเตอร์สำหรับลดแสง
ฟิลเตอร์สำคัญต่อการถ่ายภาพแบบ Long Exposure มาก
โดยเฉพาะการถ่ายในเวลากลางวัน เช่น การถ่ายภาพน้ำตก การถ่ายภาพทะเลฟุ้ง

ND filter จะเป็นตัวช่วย ในการลดแสงในตอนกลางวันเพื่อให้แสงลดลง ทำให้ชัตเตอร์ต่ำลง
ND ฟิลเตอร์มีหลายขนาดตั้งแต่ 3- 10 สต๊อป แนะนำว่าซื้อมากสต็อปไว้ดีกว่า
มีทั้งเต็มแผ่นและครึ่งซีก ( ครึ่งบนมืด ครึ่งล่างสว่าง ) เพื่อที่จะละแสงสว่างของท้องฟ้า
ที่ค่าแสงต่างกับพื้นดินมากๆ จะใช้แบบไหนขึ้นอยู่กับแนวภาพที่เราถ่าย

5. Location หรือ สถานที่ในการถ่ายภาพ
ต้องยอมรับว่าภาพจะสวยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่เราถ่ายมากๆ
ดังนั้นต้องหาโลเคชั่นที่เหมาะกับการถ่ายภาพแนว Long Exposure ให้ดีๆ
ถ้าเป็นการถ่ายเส้นแสงไฟ ต้องหามุมที่มีรถวิ่งเยอะๆ หรือ
อยู่ในมุมสูงๆจะได้มองเห็นวิวกว้างๆ เวลาถ่ายจะได้ภาพที่สวยงามตระการตา

6. เลนส์ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพแนวนี้ควรจะต้องเป็น เลนส์มุมกว้างหรือเลนส์ไลด์ (Wide Lens)

จะช่วยทำให้เก็บภาพได้ดูอลังการ
สวยงามกว่าเลนส์มุมแคบ หรือ บางคนอาจจะใช้เลนส์ตาปลา( Fish eyes) ก็ได้แล้วแต่ชอบ

ข้อควรระวังในการถ่าย Long Exposure

1. ปิด ระบบกันสั่นที่ตัวกล้อง / เลนส์
ระบบกันสั่นของกล้องจะทำงานโดยการขยับชิ้นเลนส์หรือเซนเซอร์รับภาพ
ชดเชยทิศทางการเคลื่อนไหวของกล้อง เพื่อลดโอกาสที่ภาพจะสั่นไหว
แต่ในการถ่ายภาพ Long Exposure ต้องตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง เพื่อให้กล้องนิ่งไม่มีการขยับ
หากการเปิดระบบกันสั่นไหวเอาไว้ จะเป็นสาเหตุทำให้ภาพเราสั่นไหวได้
ดังนั้น แนะนำว่าปิดระบบกันสั่นไหวที่ตัวกล้อง และ ตัวเลนส์ ด้วย(ถ้ามี)

2. สภาพอากาศ เป็นส่วนสำคัญยิ่งในการถ่ายภาพ
ควรเช็กสภาพอากาศ หรือตรวจสอบพยากรณ์อากาศด้วย
ท้องฟ้าหม่น มีฝนตกก็ไม่ควรออกไปถ่ายภาพ เพราะหากมีฝนตกการออกไปถ่ายภาพ
ก็อาจทำให้ตัวกล้องชื้นได้และที่สำคัญท้องฟ้าไม่สวยถ่ายภาพออกมาสีสันของภาพก็จะไม่สวย

 

มาเรียนรู้ เทคนิคการถ่ายภาพ Long Exposure แต่ละประเภทกัน

 

การถ่ายภาพเส้นแสงไฟวิ่ง

การถ่ายภาพเส้นแสงไฟวิ่ง เป็นการตั้งค่าของกล้องเปิดชัตเตอร์ไว้นานๆ
แสงจากรถยนต์ที่กล้องบันทึกภาพแสงไฟได้จะมีลวดลายหลากสี
ซึ่งมักเรียกกันว่า “เส้นแสง”

 

 

ช่วงเวลาของความเร็วชัตเตอร์ จะเป็นตัวกำหนด

หากความเร็วชัตเตอร์สูงมาก เส้นแสงอาจสั้นเกินไป
ความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์ภาพเส้นแสงไฟที่มีการเคลื่อนไหว

ชัตเตอร์ ควรอยู่ประมาณ 15-30 วินาที
ความเร็วชัตเตอร์ จะเป็นตัวกำหนดความยาวของเส้นแสง

 

การตั้งค่า

F-stop
F8-11จะได้ภาพที่คมที่สุด ถ้าสปีดชัตเตอร์ไม่ต่ำพอก็ใช้ ND filter เข้าช่วย
ถ้าใช้ค่ารูรับแสง F 22 จะได้ดวงไฟเป็นประการแฉกที่คม (แต่ขอบภาพจะครอปลง)

ISO
ให้ตั้งค่า ISO ให้น้อยที่สุดเพื่อทำให้ได้สปีดต่ำที่สุด ใช้ ISO แค่ 100-200 ก็พอ

Picture Mode / Picture style
ในการถ่ายภาพแนวนี้สีสันต้องสดใสจึงจะสวย ควรจะตั้งเป็น Landscape หรือ vivid
หรือถ้าใครคิดว่าต้องเอาไปแต่งอยู่แล้ว ก็ใช้ Standard หรือ Nuetral ก็ได้

White balance
ง่ายสุด ใช้ Daylight หรือ Auto ก็ได้ (บางคนใช้ Raw File ก็เอาไปแก้ในโปรแกรมใหม่ได้)
แต่ถ้าใครชอบสีสันเองก็ใช้ค่าอุณหภูมิสี Kelvin และ เติมสีตามใจชอบด้วยการปรับค่า
White balance shift เอาตามต้องการ

วิธีการถ่ายภาพ
หลังจากปรับตั้งค่ากล้องแล้ว ก็หามุม วางองค์ประกอบภาพให้เหมาะสม
ไฟวิ่งจะสวยหรือไม่สวยขึ้นอยู่กับโลเคชั่น ควรหาจุดเด่นที่สวยๆ มีรถวิ่งผ่ายเยอะๆ
จะทำให้ภาพมีเส้ยแสงไฟเยอะสวยงาม และการมีจุดเด่นที่ดี
จุดเด่นของภาพจะสวยงามและมีความน่าสนใจกว่า มีแค่เส้นแสงไฟอย่างเดียว

 

เทคนิคการถ่ายภาพน้ำตกให้ดูฟุ้งชวนฝัน 

 

 

 

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจสิ่งหนึ่งก่อนที่จะไปเรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพน้ำตก คือ
ไม่ว่านำตกที่ใด จะมีสภาพแสงที่ต่างกัน สว่างมาก สว่างน้อย แสงเป็นหย่อมๆ
ทั้งนี้เนื่องจากการถ่ายภาพน้ำตกแต่ละแห่งสถานที่ต่างกันไป

การถ่ายภาพน้ำตกให้ดูฟุ้ง ตะต้องใช้สปีดชัตเตอร์ตั้งแต่ 1/4 – 2 วินาทีเป็นอย่างต่ำ 
แต่การถ่ายภาพน้ำตกนั้นโดยทั่วๆไปจะต้องถ่ายตอนกลางวัน (มืดๆค่ำอันตรยและตามอุทยานแห่งชาติก็จะปิด)
ถ้าเราเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพ จะต้องรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงกับสปีดชัตเตอร์
คือ แสงมาก สปีดขะสูง แสงน้อย สปีด จะต่ำ  ดังนั้น การถ่ายภน้ำตกกลางวันจึงยากที่จะทำให้น้ำตกฟุ้งๆ 

 
ถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องนี้ จะสงสัยว่า ทำไม?  เราถ่ายน้ำตกได้ ไม่ฟุ้ง 
ดังนั้น ถ้าอยากถ่ายภาพน้ำตกให้ฟัง อ่านให้จบครับ

 

 

 

อุปกรณ์ที่จำเป็น
1. เลนส์มุมกว้าง เลนส์นอร์มอล หรือ เลนส์เทเลโฟโต้ (แล้วแต่จะถ่ายมุมกว้างแค่ไหน หรือถ่ายโคลสอัพ)
2. ขาตั้งกล้อง (เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ถึงมากที่สุด)
3. ฟิวเตอร์สำหรับลดแสง (ND Filter)

 

การตั้งค่า

F-stop
เนื่องจากเป็นการถ่ายภาพกลางวัน แสงจะเยอะ สปีดจะสูง
การจะทำให้สปีดต่ำตัวแรกคือ ให้ใช้ค่ารูปรับแสงให้แคบที่สุด เพื่องให้รับแสงน้อยที่สุด
ให้ตั้งค่ารูรับแสงไปที่ F16-22 จะได้ผลสองอย่างคือ ทำให้ภาพคมชัดทั้งภาพและ ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง

ISO

เมื่อตั้งค่ารูรับแสงแคบแล้วตัวช่วยที่สองที่จะทำให้สปีดต่ำงอีกได้คือ ลดค่าความไวแวงลง

ให้ตั้งค่า ISO ให้น้อยที่สุดเพื่อทำให้ได้สปีดต่ำที่สุด ใช้ ISO แค่ 50 – 100
หรือตั้งค่าเริ่มต้น iso ของที่กล้องมี (กล้องบางรุ่นเริ่มต้นที่ 200 )

ใช้ตัวช่วย (ND Filter)
เมื่อเราได้ตั้งค่ารูรับแสง แคบสุดและใช้น้อยที่สุดแล้ว
ถ้าสปีดชัตเตอร์ได้ตามต้องการแล้วก็สามารถถ่ายได้เลย
(ขึ้นอยู่กับสภาพแสงว่ามากหรือน้อย ถ้าแสงน้อยๆคลึ้มๆก็น่าจะถ่ายได้)

แต่ถ้าทำตามข้างต้นแล้วสปีดยังสูงอยู่ถ่ายไม่ได้ ก็ให้ใช้ตัวช่วยที่เรียกว่า ND Filter
เป็นการลดแสงลงเพื่อให้สปีดต่ำได้ตามที่ต้องการ
ND Filter มีสองแบบ คือ ใช้สวมหน้าเลนส์ กับ แบบแผ่น
มีคุณสมบัติคือเป็นตัวช่วยลดแสง ทำให้สปีดต่ำลงได้ มีตั้งแต่ 3-10 stop

 


           

 

 

Picture Mode / Picture style
ในการถ่ายภาพแนวนี้สีสันต้องสดใสจึงจะสวย ควรจะตั้งเป็น Landscape หรือ vivid
หรือถ้าใครคิดว่าต้องเอาไปแต่งอยู่แล้ว ก็ใช้ Standard หรือ Nuetral ก็ได้

White balance

จะเลือกใช้ Daylight หรือ Auto ก็ได้ (บางคนใช้ Raw File ก็เอาไปแก้ในโปรแกรมใหม่ได้)
แต่ถ้าใครชอบสีสันเองก็ใช้ค่าอุณหภูมิสี Kelvin และ เติมสีตามใจชอบด้วยการปรับค่า
White balance shift เอาตามต้องการ

วิธีการถ่ายภาพ

การถ่ายภาพน้ำตกไม่มีกฏตายตัว ว่าจะใช้ค่าสปีดชัตเตอร์เท่าไร 
ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนถ่ายว่าอยากได้น้พพร้ิวไหว หรือให้ฟุ้งชวนฝันไปเลย
ถ้าต้องการให้เห็นน้ำตกเป็นเส้นสายไม่ต้องฟุ้งมากให้ตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ ประมาณ 1/4 – 1″(วินาที)

 

 

 

แต่ถ้าอยากสายน้ำให้ฟุ้งๆก็เพิ่มเวลาไปประมาณ 2″- 4″

 



ถ้าอยากให้น้ำตกดูเป็นม่านน้ำเลย ก็ประมาณ 4″- 8″

 

ทั้งนี้แล้วแต่ใครอยากได้แบบไหนก็ไม่ผิดกติกา แล้วแต่ชอบเลยครับ 

หลังจากปรับตั้งค่ากล้องแล้ว ก็หามุม วางองค์ประกอบภาพให้เหมาะสม
แต่อยากแนะนำว่า การถ่ายภาพน้ำตกให้สวย ควรมีฉากหน้าด้วยจะทำให้ภาพมีมิติขึ้น 
ทำให้ภาพดูมีเรื่องราวน่าสนใจมากกว่าการถ่ายภาพเฉพาะนำตกอย่างเดียว
หรืออาจจะใส่เรื่องราวโดยการใส่คนเข้าไปในภาพน้ำตกด้วยก็ได้ครับ  


 

 

 

เทคนิคการถ่ายภาพพลุ (Fire work Photography)

 

อุปกรณ์จำเป็น
กล้องถ่ายภาพ ขาตั้งกล้อง สายลั่นไกชัตเตอร์

การปรับตั้งกล้อง

White balance
ควรตั้งเป็นระบบ Kelvin หรือ จะตั้งเป็นระบบ Auto ก็ได้

ISO
ควรใช้ค่าความไวแสงน้อยสุด หรือ ประมาณ 100 หรือ 200

ระบบโฟกัส
ให้ใช้ระบบโฟกัสเป็น Manual focus หมุนโฟกัสไปที่ infinity

ปิดระบบ Noise Reduction
ISO 100 Noise จะต่ำมาก ไม่จำเป็นต้องเปิด ระบบ Noise Reduction
การเปิดระบบนี้จะทำให้การทำงานกล้องกล้องในการถ่ายภาพช้าลง อาจเสียโอกาสในการถ่าย

ความไวชัตเตอร์
การถ่ายภาพพลุ จะใช้ ชัตเตอร์ B ความไวชัตเตอร์ตามจังหวะกับการยิงพลุ

ขนาดรูรับแสง
ตั้งค่ารูรับแสง F8 ถึง F11 บางคนอาจใช้ค่ารูรับแสงมากกว่านี้ก็ไม่ผิด
ขึ้นอยู่กับความสว่างของสถานที่นั้นๆ หรือ ถ้ามืดมากๆก็สามารถ ลดค่ารูรับแสง
รวมไปถึงเพิ่ม ISO ให้มากขึ้นได้

วิธีการถ่ายภาพพลุ
เมื่อเราตั้งค่าทุกอย่างตามที่บอกไว้ข้างต้นไว้แล้ว การถ่ายภาพที่ดีต้องทดสอบความพร้อมก่อน
1. ลองปรับดูความคมชัด (ควรใช้ระบบ ManualFous )เช็คดูให้แน่ใจ
ว่าภาพที่ถ่ายมาจะไม่เบลอหรือไม่คม ด้วยการซูมมาดูให้แน่ใจ ว่าคมชัวร์

2. ทดสอบสายลั่นชัดเตอร์ดูว่า การทำงานยังใช้ได้หรือไม่
เคยมีประสบการณ์เอาสายลั่นมาแล้วหยิบผิดอัน ใช้กันไม่ได้ก็มี หรือ บางรุ่นอาจจะแบตตารี่หมด เป็นต้น

3. การทดลองถ่ายจากการตั้งค่า F-STOP และ ISO ว่าภาพที่ได้จะมืดไปหรือสว่างไปหรือไม่
ด้วยการทดสอบเวลาประมาณ 1-2 วินาที

ถ้ามืดหรือสว่างไปก็ต้องปรับเพิ่ม-ลด ISO หรือ F-STOP ตามใจชอบ

เมื่อทุกอย่างพร้อมก็เตรียมรอเวลาจุดพลุ ให้ฟังเสียงยิงพลุ ดังเมื่อไร ให้กดถ่ายได้เลยครับ
สังเกตุดูว่า พลุแตกระเบิดตอนไหน ก็ให้ปิดชัตเตอร์ตอนนั้นเลย
อย่าโลภมากจะเอาพลุหายๆดอกจะทำให้ภาพโอเวอร์และพลุจะไม่คม หรือ
มือใหม่ๆอาจรีบกดปิดม่านชัตเตอร์ ก็อาจจะทำให้ภาพมืดดำมองไม่เห็นรายละเอียดอื่นๆเลยก้ไม่สวยครับ 

ข้อควรระวัง ในการถ่ายภาพพลุ

ภาพพลุไม่คม
อาการภาพไหว มักเกิดจากความไม่มั่นคงของขาตั้งกล้อง
และการถ่ายภาพโดยไม่ใช้สายลั่นไกชัตเตอร์

ภาพโอเวอร์เกินไป
มักจะเกิดเมื่อมีการยิงพลุติดต่อกันหลายๆ ลูกและพลุขึ้นในจุดซ้ำๆ กันทำให้พลุสว่างเกินไป
หรือ มือใหม่ๆอาจไม่รู้จังหวะเสียดายพลุกำลังยิง กดแช่นานไป ต้องตัดใจเลือกเอา อย่าโลภ
ยกเว้น การใช้ผ้าดำซ้อนพลุ ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ทำกันแล้ว เพราะมาทำในโปรแกรมกันง่ายกว่า

ควันของพลุ
ควันพลุทำให้ความสวยงามของภาพพลุลดลง
ดังนั้นในการเลือกจุดสำหรับยืนถ่ายภาพพลุ ดีที่สุดคือ หาตำแหน่งที่อยู่เหนือลม

เทคนิคการถ่ายภาพดาวหมุน (Star tail)

 

ภาพของดาวหมุน คือ การถ่ายภาพให้ดาวเป็นเส้นๆ  เราจะนิยมถ่ายให้ดาวหมุนเป็นวงกลม  
เทคนิคการถ่ายภาพ ดาวหมุน จะแตกต่างจาการถ่าย ทางช้างเผือกพอสมควร  มาดูกัน

ช่วงเวลาการถ่ายและทิศทาง
ช่วงเวลาการถ่ายถ่ายดาวหมุน ต้องเป็นเวลากลางคืน ที่สำคัญต้องเป็นคืนเดือนมืด เพื่อให้เราเห็นดาวได้ชัดเจน
ช่วงเดือนที่เหมาะสำหรับการถ่ายดาว ดีสุดก็หน้าหนาวและหน้าร้อน ช่วยลดความเสี่ยงกับการเจอฝนตกหรือเมฆมาก

ทิศทางการถ่ายดาวหมุน  

ถ้าอยากได้ให้เป็นวงกลม ให้ตั้งกล้องหันหน้าไปทางทิศเหนือ
ดาวจะหมุนเป็นวงกลมโดยมีดาวเหนือเป็นแกน เวลาถ่ายภาพจะได้เส้นดาวหมุนเป็นวงกลม 

สถานที่ ที่เหมาะแก่การถ่ายภาพดาว

สถานที่เหมาะแก่การถ่ายคือ สถานที่ ที่มืดสนิทไม่มีแสงรบกวน
การถ่ายดาวหมุนนั้นควรหาฉากหน้าดีๆ ฉากหน้า  มีความสำคัญ สำหรับการถ่ายภาพดาวหมุนมาก

เพราะจะสวยกว่าการถ่ายเฉพาะเส้นแสงดาวอย่างเดียว

อุปกรณ์ที่ใช้
1. เลนส์มุมกว้าง  การใช้เลนส์มุกกว้างจะมีข้อดีเพราะจะได้เก็บดาวได้ดูอลังการ ภาพดาวหมุมจะได้เป็นวงกลมที่สวยงาม  
2. ขาตั้งกล้อง สำคัญมากและขาดไม่ได้  
3. สายลั่นชัตเตอร์   ใช้สำหรับ ชัตเตอร์ B ล็อกการปิดเปิดชัตเตอร์ได้ตามเวลาที่ต้องการ
4. แบตสำรอง ควรเตรียมให้พร้อม 


 
การตั้งค่ากล้อง

ใช้โหมดการถ่ายภาพ Shutter B (Bulb)
 
ค่ารูรับแสง (F-Stop) 

ถ้าเราอยากได้เส้นดาวหนาๆ เราก็ใช้ รูรับแสงกว้างๆ ตั้งแต่  F 4- F 5.6
แต่ถ้าเราอยากได้เส้นดาว เส้นไม่หนามาก เราก็ใช้ค่ารูรับแสงแคบลงมา ประมาณ F 8-F 11

ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) 
การถ่ายภาพดาวหมุนให้เป็นเส้นยาวๆต้องใช้เวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์นานๆ

เพื่อรับแสงและบันทึกการเดินทางของเส้นแสงดาว
เวลาที่ใช้ถ้าสั้นไป เส้นดาวจะขาดไม่เป็นวงกลม ถ้าให้ครบเป็นวงกลมสวยงามให้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที 

ข้อควรระวัง

การใช้เวลานานเกินกว่า 30 นาที ต้องดูด้วยว่ากล้องมีสมรรถนะทำได้หรือไม่

เพราะระบบกล้องอาจจะร้อนและเสียหายได้ครับ

 

ค่าความไวแสง(ISO) 

ค่าความไวแสงตามปกติจะใช้อยู่ที่ประมาณ 100-200
หรือ อาจจะ มากกว่านั้นแล้วแต่สภาพความแสงในสถานที่นั้นๆ
แต่ไม่แนะนำให้ใช้ ISO สูงมากไป เพราะจะมีผลทำให้ภาพเกิด Noise 

สมดุลแสงสีขาว ( White Balance )

ตั้งค่า ​White balance เป็น  AUTO ง่ายและได้สีที่ใกล้เคียงความเป็นจริง

และถ้าใครใช้ Raw file ถ่ายก็จะนำไปแก้ไขเรื่องสีได้ง่าย 

 

ปิดระบบลด Noise ในกล้องถ่ายภาพ (Noise reduction) 
เพราะหากเปิด Noise reduction นี้ไว้ กล้องจะใช้เวลาทำการลด noise เท่ากับเวลาที่ถ่าย ถึงจะถ่ายใหม่ได้
ทำให้เสียจังหวะการถ่ายภาพดาวหมุน

วิธีการถ่ายภาพ

เมื่อหาสถานที่ได้แล้วก็เซ็ตตั้งค่ากล้องตามที่บอกไว้ ใช้เข็มทิศหรือใช้เข็มทิศจากมือถือก็ได้
หาทิศเหนือแล้วตั้งกล้องหันกล้องไปทางทิศเหนือ เพื่อจะได้ดาวหุนเป็นวงกลม
ใช้สายลั่นชัตตอร์ (มีแบบตั้งเวลาได้ ก็ตั้งไว้ที่ 30 นาที) กดล็อคเวลาไว้ประมาณ 30 นาที

ถ้าไม่หันกล้องไปทางทิศเหนือ จะได้ภาพเส้นแสงดาวเสมือดาวตกแบบในภาพนี้ 

บางคนก็อาจใช้วิธีการถ่ายภาพแบบช่วงเวลาสั้นๆที่เรียกว่า stacking คือ ถ่ายหลายๆภาพ

แต่ละภาพได้เส้นดาวสั้นๆและมีสภาพแสงกำลังพอดีแล้วเอาภาพพวกนั้นมารวมกัน

ดาวสั้นๆก็จะมาต่อกันเห็นเป็นเส้นยาวๆขึ้นมาได้

อาจใช้ Photoshop หรือ จะใช้โปรแกรม Startrail ก็ได้ ลองไปหาข้อมูลเพิ่มกันดูนะครับ

CR : Fatcatku Chaichanapanich

 

การถ่ายภาพทางช้างเผือก (Milky Way)
การตั้งค่าถ่ายภาพ

การถ่ายภาพทางช้างเผือก จะแตกต่างจากการถ่ายภาพดาวหมุน
ทางช้างเผือกจะต้องใช้รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์แต่ละตัวความสว่างไม่เท่ากัน ยิ่งได้รูรับแสงมากก็ยิ่งดี 

มีคนเขียนเอาไว้(ขอบคุณมาก ไม่รู้ใครเขียนขอยืมมาเป็นข้อมูลให้คนอื่นๆได้เรียนรู้)
เค้าบอกไว้ว่า มีสูตรการใช้ความเร็วขัตเตอร์คำนวณ ดังนี้ 

โดยสูตรคำนวณการถ่ายภาพทางช้างเผือกที่นิยมใช้กันคือ Rule of 300/400/600

M4/3 : 300 หารด้วยทางยาวโฟกัสเลนส์ = ระยะเวลาการถ่าย/Shutter Speed

APSC : 400 หารด้วยทางยาวโฟกัสเลนส์ = ระยะเวลาการถ่าย/Shutter Speed

Full Frame: 600 หารด้วยทางยาวโฟกัสเลนส์ = ระยะเวลาการถ่าย/Shutter Speed

สูตรการคำนวณ
จากทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้ กับประเภทของเซ็นเซอร์ในการรับภาพของกล้องดิจิตอล เพื่อให้ทางช้างเผือกไม่ยืด

ตัวอย่าง เช่น  ใช้กล้องที่มีเซ็นเซอร์แบบ Fullframe ใช้เลนส์ช่วงกว้างสุดที่ 16mm ก็จะเป็น 600/16 = 37.5
เพราะฉะนั้น ควรจะใช้ชัตเตอร์สปีดได้สูงสุด 37.5 วินาที โดยที่ดาวยังไม่ยืด

ส่วนกล้อง APS-C ให้นำเอาทางยาวโฟกัสของเลนส์ไปหาร 400 เช่น ใช้เลนส์ 12 มม.
นำไปหาร 400 จะได้ 33.33 หมายถึง ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ 33 วินาที
หมายเหตุ
นี่เป็นแนวทางนะครับ ไม่ต้องไปซีเลียตมาก
เพราะในสถานการณ์จริง สภาพแสง ความชัดของดาว อาจไม่จำเป็นต้องตามสูตร 

แนะนำว่าให้ดูจากความต้องการของเราเป็นหลักว่าอยากได้แค่ไหน ดูว่าดาวยืดหรือป่าว ถ้ายืดก็ลดเวลาลงมา

การถ่ายทางช้างเผือกจะให้สวยต้องมีฉากหน้า เพราะฉากหน้าจะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้น
แต่การตั้งค่าถ่ายภาพจะต้องระวังฉากหน้าที่มีความสว่าง
ควรเลือกฉากหน้าที่ค่อนข้างมืด ถ้าต้องการรายละเอียด ก็ใช้ไฟฉายส่องเพิ่มเอาดีกว่า

 

10 ขั้นตอน วิธีการถ่ายภาพ ทางช้างเผือก

1.ก่อนจะไปถ่ายวันไหน ต้องดูตารางทางช้างเผือกก่อนว่าจะขึ้นเวลาไหน

เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลารอนานหรือพลาดไปรอผิดเวลา
(ตารางทางช้างเผือกมีให้ดูตลอดทั้งปี มีคนรวบรวมไว้ ลองเสริ์ทหาดูในเน็ต

แต่ต้องดูให้ถูกปีนะครับ แต่ละปีอาจขึ้นไม่ตรงกัน)

 

2. ใช้โหมด M หรือ Shutter B ก็ได้ 
ใช่สายลั่นชัตเตอร์ และสำคัญสุดคือ ต้องใช้ขาตั้งกล้องเสมอ

 

3. ตั้งกล้องถ่ายภาพโดยหันไปในทิศทางบริเวณใจกลางทางช้างเผือก คือ

บริเวณกลุ่มดาวแมงป่องและคนยิงธนู ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางทางช้างเผือก ส่วนมากก็จะดูจากแอฟ

หาโหลดได้เยอะแยะ เช่น Planet / Sky walk /Star Chart มีทั้ง iOS และ Android
การใช้งานไม่ยาก โหลดไว้ก่อนจะไปเที่ยว ไม่มีเนตก็ใช้ได้

 

4.เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง หรือ เลือกใช้เลนส์ฟิชอาย (Fisheye Lens) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเลนส์ตาปลา

ที่สามารถเก็บภาพได้กว้างถึง 180 องศา และที่สำคัญควรเป็นเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงประมาณ 2.8 เป็นอย่างน้อย

 

5.ปรับระยะโฟกัสของเลนส์ไปที่ระยะไกลสุด (อินฟินิตี) สัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายเลข 8  
และต้องปิดระบบกันสั่นของเลนส์ด้วย และที่สำคัญคือควรปรับเป็นระบบ Manual Focus

 

6. การใช้ ISO ต้งใช้ตั้งแต่ 1600จนถึงประมาณ 3200 หรือถ้ารูปรับแสงไม่กว้างมากก็อาจจะถึง 6400 ก็ต้องยอม
ดังนั้น การถ่ายภาพทางช้างเผือก ควรจะมีเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างๆ เช่น 1.4 1.8
อย่างน้อยควรจะได้ 2.8 ก็จะจะดี เพื่อจะได้ไม่ต้องดัน ISO มากนัก

 

7. ปรับตั้งค่าสมดุลสีขาว (White Balance) โดยอุณหภูมิสีของท้องฟ้าใน

ช่วงกลางคืน ใช้ประมาณ 4500 เคลวิน หรือ อาจเลือกใช้ในโหมดการปรับค่า

White Balance ไปทางสีฟ้าตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ภาพท้องฟ้าที่ไม่อมสี แดงมากเกินไป

แต่ปัจจุบันนี้กล้องฉลาดขึ้น Auto White balance เป็นอีกทางเลือกที่ง่ายและทำได้ดีในกล้องรุ่นใหม่ๆ

 

8. การถ่ายภาพในที่แสงน้อย ทำให้ต้องใช้ ISO สูงๆ หรือต้องเปิดชัตเตอร์

ให้รับแสงนานขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ จะทำให้เกิดจุดรบกวนบนภาพที่เรียกว่า Noise

ซึ่งแก้ไขได้บ้าง ด้วยการเปิดระบบ Long exposure noise reduction 

 

9. ระยะเวลาในการถ่ายทางช้างเผือก ให้ใช้หลัก  สูตรคำนวณการถ่ายภาพทางช้างเผือกที่นิยมใช้กันคือ
Rule of 400/600  ตามที่กล่าวไว้ข้างบน

 

10.การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อความ

ยืดหยุ่นในการปรับภาพเพิ่มเติมในภายหลัง

 หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนชอบถ่ายภาพแนว Long Exposure Photographyนะครับ
เวลาไปถ่ายภาพจะได้มีความรู้ในการถ่ายภาพ จะได้ภาพสวยๆกลับมาคุ้มกับการเดินทาง 

One thought on “Long Exposure Photography

Comments are closed.