ความรู้และเทคนิคการถ่ายภาพแคนดิด (Candid Photography)


ใครชอบที่จะเก็บภาพชีวิตผู้คน ในตามที่ต่างๆที่เราไปเที่ยวไปพบเจอ ผู้คนต่างถิ่น ชีวิตความเป็นอยู่น่าสนใจ
อยากเก็บภาพที่เป็นธรรมชาติจริงๆ ต้องตั้งใจ ไม่ต้องมองกล้อง ได้อารมณ์ดิบๆ


การถ่ายภาพทีเผลอ การถ่ายภาพอารมณ์ต่างๆที่คนถูกถ่ายไม่รู้ตัว ภาพเหล่านี้คือ การถ่ายภาพที่เรียกว่า
แคนดิด ( Candid )



“ Candid “ แปลตรงตัวคือ ตรงไปตรงมา ไม่มีเสแสร้ง
การถ่ายภาพประเภทนี้จะให้ความรู้สึกที่สมจริง ไม่มีการจัดฉากเป็นธรรมชาติที่สุดในบรรดาแนวการถ่ายภาพทั้งหมด และก็ไม่ได้หมายถึงการถ่ายภาพเฉพาะคนเท่านั้น
รวมไปถึง สัตว์ต่างๆทั้งสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง ถือว่าเป็นแคนดิตได้ทั้งหมด

แต่มีข้อมารยาทในการถ่ายภาพแนวนี้อยู่ คือ
ห้ามมิให้แคนดิตภาพที่ไม่เหมาะสม ที่เป็นส่วนตัวที่จะทำให้เกิดความเสียหาย อับอาย อันนี้ต้องไม่ละเมิดกันนะครับ

เชื่อว่าหลายๆคนคงชอบถ่ายภาพแนวนี้กัน เรามาดูกันว่า
มีเทคนิคการถ่ายภาพแนวแคนดิด กันอย่างไรบ้าง

1.การตั้งค่ากล้อง
เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการถ่ายภาพแนวนี้คือ การตั้งค่ากล้องให้เหมาะกับแนวการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพแคนดิด คือ การจับจังหวะดีๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้นระบบของกล้อง หรือการตั้งค่าต่างๆ บนตัวกล้อง ต้องถูกเตรียมให้พร้อมไว้แล้ว
เหลือเพียงแค่การยกขึ้นมาแล้วสั่นชัดเตอร์ใด้ทันที
เพราะบางสถานการณ์เราอาจพลาดแล้วพลาดเลย
ดังนั้น ต้องเตรียมพร้องสำหรับการตั้งค่ากล้อง


การตั้งค่ารูรับแสง (F-stop)

การถ่ายแนวนี้ทำได้ทั้งสองอย่างทั้งชัดตื้น(หน้าชัดหลังเบลอ) และ ชัดลึก (ชัดทั้งภาพ)

ถ้าอยากให้ฉากหลักเบลอเพื่อลดฉากหลังที่ไม่สวยก็ใช้รูรับแสงกว้างๆนิดนึง
แต่ถ้าจะให้ชัดทั้งตัวแนะนำว่าไม่ควรต่ำกว่า F4 นะครับ
ถ้าอยากเก็บฉากหลังด้วย เริ่มกันได้ตั้งแต่ F5.6 – F8

การใช้ความเร็วชัดเตอร์ (Shutter speed)

การที่จะถ่ายภาพที่พลาดไม่ได้เลยสักช็อต ความเร็วชัตเตอร์ หรือ สปีด จึงสำคัญมากๆต้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เพียงพอ หรือให้เผื่อไว้ เพื่อความชัวร์เลยดีกว่า

ความเร็วชัตเตอร์ที่จะถ่ายภาพนิ่งกึ่งเคลื่อไหว หรือถ่ายภาพคนที่มีโอกาสเคลื่อนไหวได้
Shutter speed ควรใช้ตั้งแต่ 1/250 และ 1/500 เป็นค่าโดยประมาณนะครับ

ให้ยึดหลักตามนี้นะครับ Shutter speed จะผันแปรตามความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนไหว
ถ้าเร็วมากก็ต้องใช้สปีดที่สูงขึ้นตามไปด้วย

ความไวแสง ( ISO)

โดยปกติเราต้องเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของแสงกับความเร็วชัตเตอร์กันก่อนนะครับ
ถ้าแสงมาก ความเร็วชัตเตอร์ จะสูง แสงน้อย สปีดชัตเตอร์ จะต่ำ เวลาไปถ่ายภาพในสถานที่ต่างๆ เราจะพบว่าแสงมากบ้าง น้อยบ้าง ดังนั้น เราต้องทำการวัดแสงก่อนว่าในสภาพแสงตอนนั้นควรจะใช้ ความไวแสง ( ISO) เท่าไร
ถึงจะพอกับ Shutter speed ที่เราต้องใช้


ควรตั้งเผื่อไว้ก็ดีครับ เพราะบางทีสภาพแสงผันแปร จะได้ไม่พลาดช็อตสำคัญ

แต่สิ่งหนึ่งพึงต้องระวังคือ อย่าใช้ ความไวแสง ( ISO) สูงเกินความจำเป็น เพราะ ทำให้ภาพเกิด noise นั่นเอง

2.เลือกใช้เลนส์ให้เมาะสม
ปกติเวลาถ่ายภาพแคนดิดเลนส์ที่เหมาะสุดควรจะเป็น
เลนส์ซูมระยะไกล หรือ Telephoto

ความยาวโฟกัสตั้งแต่ 40-150 ( Aps-c) หรือ 70-200 (Full flame) เพราะการถ่ายแนวเผลอเราจะเข้าใกล้ตัวแบบไม่ค่อยได้ เลนส์เทเลจึงน่าจะเหมาะ


แต่ก็ใช่ว่าต้องใช้เลนส์เทเล เท่านั้น ในการถ่ายภาพแคนดิด
บางครั้งเราอยากได้เรื่องราวของสถานที่นั้นๆเลนส์มุมกว้าง (wide lens) หรือเลนส์ช่วงกลางๆ(Normal lens) น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี

เลนสอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจคือ เลนส์ฟิกส์ (Fix lens)) ซึ่งจะเป็นทางเลือกของคนรุ่นใหม่
ที่ชอบ Snapshot เดินถ่ายภาพไปเรื่อยๆไม่เน้นตัวแบบมากนัก เน้นเรื่องราวและอารมณ์ภาพเป็นหลัก
ข้อดีอีกอย่างคือ เลนส์ฟิกซ์ จะมีรูปรับแสงไที่กว้าง ทำให้ถ่ายภาพสภาพแสงน้อยได้ดี


3.เลือกโหมดกล้องที่ถนัด

การใช้ Mode A หรือ AV เพื่อกำหนดค่ารูรับแสงได้ตามที่ต้องการแล้วปล่อให้ความเร็วชัตเตอร์ปรับอัตโนมัติ
ด้วยการคุมสปีดด้วยการตั้งค่า ความไวแสง ( ISO) ให้ได้สปีดตามต้องการ เพราะหลายๆครั้ง ภาพแคนดิดดีๆ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที ในสภาพแสงที่ยุ่งยาก


แต่ก็มีข้อคิดอีกอย่าง สำหรับคนที่ถนัดโหมด M (manual) โหมดM ก็ใช้ได้ดีนะครับ เพราะถ้าเราอยู่ในสภาพแสงที่ไม่ต่างกันมาก โหมด M เป็นตัวเลือกที่ดี วัดแสงครั้งเดียวแล้วยิงยาวได้เลย


4.การวางแผนการถ่ายภาพ
ใครๆคิดว่าเวลาไปถ่ายภาพแคนดิด ไม่ต้องคิดอะไร เจออะไรก็แบบถ่ายไปเรื่อยๆ ถ้าบางคนทำแบบนั้นก็ไม่ผิดอะไรครับ
แต่สำหรับคนที่จะถ่ายภาพแนวนี้ให้ได้ดีจะต้องมีการวางแผนการถ่ายด้วยครับ


เช่น เมื่อเราเห็นจุดเด่นที่เป็นเป้าหมายแล้ว ไม่ใช่แค่ยกกล้องขึ้นแล้วเล็ง ถ่ายเลย
เราจะต้องมองดูสภาพแวดล้อมว่า ฉากหลังเป็นไง รกไปรึป่าว เปลี่ยนฉากหลังได้มั้ย มีแสงให้เราเล่นมั้ย และที่สำคัญสุด
เราจะถ่ายภาพนี้นำเสนอเรื่องราวอะไร
ให้คนดูรับรู้


นี่คือโจทย์ ที่ต้องคิดและวางแผน เวลาจะถ่ายภาพสักภาพหนึ่งครับ ให้ออกมาได้ดี แม้จะมีช่วงระยะเวลาน้อยนิดก็ตาม

ถ้าเราฝึกเรียนรู้สิ่งที่กล่าวมา
เราจะคิดเร็ว ทำได้เร็วช่วงเสี้ยวนาทีก็สามารถทำได้ครับ

5.สร้างมิตรภาพระหว่างทาง

การเดินทางไปถ่ายภาพไม่ที่ใด งานแบบไหน การทำตัวอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเราจะได้มิตรภาพที่ดี
จะขออนุญาตอะไรจะทำอะไรก็จะง่ายขึ้น


หลายๆครั้ง คนถ่ายภาพคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่ จะทำไรก็ไม่เคยเกรงใจ สร้างความเบื่อหน่ายให้กับคนในพื้นที่
ทำให้บางสถานที่ ปิดกันไม่ให้ช่างภาพเข้าไปถ่ายภาพมาให้เห็นกันมากมาย

การถ่ายภาพแคนดิต ก็เหมือนกัน ถ้าเรายิ้มแย้มแจ่มใส สวัสดีทักทาย พูดคุยกับคนขายของ
เวลาจะถ่ายภาพ ถึงเค้าจะเห็นว่า เราแอบถ่ายเค้า เค้าก็จะไม่ว่าอะไร เพราะเราสร้างมิตรภาพไว้แล้ว


6.คาดการณ์ล่วงหน้า รอคอย และ จับจังหวะ

การจะถ่ายภาพแคนดิดดีๆ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งจะต้องมีคือ ต้องรู้จักการรอจังหวะที่เหมาะสม


หรือ จังหวะที่ดีที่สุด อาจจะเกิดจากการวางแผน หรือ เกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่ไม่คาดคิดก็ได้ การคาดการณ์ว่า ต่อไป อะไรจะเกิดขึ้น น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีในการรอคอย เพื่อให้ได้ ช็อตเด็ด

ถ้าเรากลัวพลาดเพราะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพครั้งนี้ แนะนำว่า ใช้ระบบการถ่ายภาพ แบบต่อเนื่อง ไปเลยครับ

7 .แคนดิดที่ดี ควรการนำเสนอเรื่องราว

ภาพแนวแคนดิดที่ดี ควรนำเสนอเรื่องราวได้ นำเสนอด้วยอารมณ์ของภาพ แอคชั่น ของภาพ ทางใดทางหนึ่ง


เพื่อให้คนดูรับรู้เรื่องราวที่นำเสนอ เช่น ถ่ายทอดอารมณ์ของคนที่ขายของ ขายไม่ได้ นั่งเหม่อมองหาลูกค้า หรือหัวเราะอย่างมีความสุข สื่อให้ชัดสื่อให้คนดูสัมผัสได้ครับ

หรือบางครั้งคนถ่ายภาพอาจจะไม่ต้องการนำเสนอตรงๆก็ได้
ให้ผู้ที่ชมภาพได้นำไปคิดต่อก็เป็นอีกแนวทางในการนำเสนออีกรูปแบบหนึ่ง


8.On Flame One Shot

การถ่ายภาพแนวแคนดิด คือ ส่วนผสมของภาพ แนว Life & Street Photography
เพราะว่าไลฟ์ก็มีแคนดิด สตรีท ก็มีการถ่ายภาพแนวแคนดิด และสิ่งที่เหมือนกันที่สุดคือจุดพีคของภาพที่ได้

คือ ภาพที่ดีนั้นจะต้องสื่อเรื่องราวและนำเสนอให้จบในภาพเดียว หมายความว่า ภาพที่ดีที่จะต้องสื่อเรื่องราว อารมณ์ภาพให้ได้ในหนึ่งภาพนั่นเอง

9.ให้เกียรติแบบที่เราถ่ายภาพ

คนที่เราถ่ายภาพไม่ว่าจะเป็นใคร
คนรวย คนจน คนหาเช้ากินค่ำ ทุกคนก็มีชีวิต มีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
ดังนั้น เราต้องให้เกียรติกัน (ไม่ว่าเขาจะรู้ตัว หรือ ไม่รู้ตัวก็ตาม)

อย่าคิดว่าเค้าต่ำกว่าจะถ่ายยังก็ได้ ไม่ให้เกียรติกัน อันนี้อย่าทำนะครับ รวมทั้งให้ความเคารพเรื่องของศาสนาของแต่ละศาสนา สถานที่ บางสถานที่ ต้องขออนุญาต ก็ต้องทำตามกติกา ทำให้ถูกต้อง


เพราะมีหลายคนที่พลาดเรื่องเล็กๆแต่ยิ่งใหญ่กันมาเยอะแล้ว

ให้เรียนรู้การใช้ คำว่า……

ขออนุญาต.
(เมื่อจะต้องขอเข้าไปถ่าย หรือ ถ้าอยากจะถ่ายคนๆนั้นจริงๆ)

ขอโทษ
(เมื่อทำผิดพลาด หรือไม่ได้ขออนุญาตเพราะไม่รู้ )

ขอบคุณ
( เมื่อถ่ายเสร็จแล้ว และ ขออนุญาตแล้ว )

สามประโยคนี้ ใช้ได้เสมอในการเดินไปถ่ายภาพ
แล้วทุกคนจะได้ภาพสวยสมใจและปลอดภัยครับ


#www.vistaimage.net
#Poj Suttipoj vistaimage

One thought on “ความรู้และเทคนิคการถ่ายภาพแคนดิด (Candid Photography)

Comments are closed.